ไม่พบผลการค้นหา
‘ประเสริฐ’ เผย กระทรวงดีอีเอส เตรียมนำเทคโนโลยีมาใช้พัฒนาประเทศ ด้าน ‘ณัฐพงษ์’ ถามกลับ ฝากลงรายละเอียดข้อมูล เชื่อมโยงระบบ

วันที่ 12 ก.ย. ในการประชุมร่วมกันของรัฐสภา ครั้งที่ 6 เป็นพิเศษ เพื่อพิจารณาเรื่องด่วน คณะรัฐมนตรีแถลงนโยบายต่อรัฐสภา ตามมาตรา 162 ของรัฐธรรมนูญ เป็นวันที่ 2 ซึ่งเป็นวันสุดท้าย ประเสริฐ จันทรรวงทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ชี้แจงข้อซักถามว่า รัฐบาลนี้ให้ความสำคัญอย่างยิ่งในเรื่องการพัฒนาระบบดิจิทัลของประเทศ 

จึงเป็นเหตุผลที่สำคัญอย่างยิ่งในการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานทางดิจิทัล (Digital Infrastructure) เช่น ดิจิทัลวอลเล็ต ซึ่งจะนำมารวมกันเป็นรัฐบาลดิจิทัล (Digital Government) อย่างสมบูรณ์ เพื่อให้พี่น้องประชาชนเข้าถึงภาคเศรษฐกิจ และภาคการบริการ รวมถึงนำมาใช้ประโยชน์กับพี่น้องประชาชนให้มากขึ้น

1.) นโยบายการใช้บริการระบบคลาวด์ภาครัฐ (Cloud First Policy) เป็นการวางโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยี ทั้งภาครัฐ และภาคเอกชน โดยเน้นการสร้างพับบลิก คลาวด์ และไพรเวท คลาวด์ นอกจากนี้ยังดึงบริษัทชั้นนำทั่วโลกมาลงทุนในประเทศไทย เป็นศูนย์กลางของภูมิภาคในเรื่องนี้ ปรับแนวทางในการจัดซื้อจัดจ้างโดยใช้คลาวด์ให้มีความโปร่งใสมากยิ่งขึ้น เปิดช่องทางให้มีการเช่าพื้นที่บริการ

2.) Digital infrastructure & Digital Ecosystem สร้างความน่าเชื่อถือในการทำธุรกรรม ซึ่งมี Digital ID ในจำนวนไม่น้อยกว่า 10 ล้านคน ขณะนี้อยู่ในระหว่างหารเพิ่มจำนวน ส่งเสริมการนำข้อมูล Big Data มาใช้ ให้เป็นเมืองอัจฉริยะ

3.) ส่วนโครงการ Health Link ร่วมมือกับทางกระทรวงสาธารณสุขในการใช้บัตรประชาชนใบเดียวรักษาได้ทุกโรงพยาบาล นอกจากนี้ยังได้ทำร่วมกับกระทรวงการท่องเที่ยวโดยเป็นโครงการ Travel link ได้มีการจัดทำแผนแม่บทในการบูรณาการความแตกต่างของแต่ละกระทรวง มาพัฒนาระบบสารสนเทศ ทำ Super App รวมทุกแพลตฟอร์มของภาครัฐโดยใช้เทคโนโลยี Blockchains จะเกิดการเชื่อมต่อข้อมูลซึ่งกัน และกันไม่ทำให้ประชาชนสับสน และสร้างความซับซ้อน

ประเสริฐ กล่าวต่อไปว่า จะนำข้อมูลมาต่อยอดทางภาครัฐ ภาคธุรกิจ และภาคประชาชนโดยนับเป็นมาตรการเชิงรุก ให้ความสำคัญมีการเปิดเผยข้อมูลภาครัฐให้ภาคธุรกิจและประชาชนได้รับทราบ เพื่อให้เกิดประโยชน์ มีการแบ่งปันสถิติตามมาตรฐานสากล เราจะนำเรื่องเหล่านี้มาพัฒนาด้านเศรษฐกิจ ต้องทำภายใต้การเคารพข้อมูลส่วนบุคคลจึงส่งเสริมให้ภาครัฐ และภาคเอกชนในเรื่องการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลหรือ PDPA และเตรียมความพร้อมเรื่องของการบังคับใช้ พร้อมส่งเสริมให้ประยุกต์ใช้เทคโนโลยี เกษตรอัจฉริยะ ยกระดับคุณภาพชีวิต เพิ่มรายได้ และลดต้นทุน

“การทำงานของกระทรวงมีแผนให้นำเอาเทคโนโลยี และสตาร์ทอัพ ได้มีโอกาสในการพัฒนาประเทศ โดยการเปิดประตูการค้ากับภาครัฐเป็นเรื่องสำคัญ การอำนวยความสะดวกในการประกอบธุรกิจ การส่งเสริมเมืองให้มีการใช้เทคโนโลยีที่ มีทั้งข้อมูลเมือง การออกแบบโครงสร้างพื้นฐาน การพัฒนาเมืองทางด้านสังคม และด้านเศรษฐกิจ จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในอนาคตการพัฒนาระบบนิเวศในยุคเศรษฐกิจดิจิทัล เป็นการปิดช่องว่างโดยรัฐบาลจะสนับสนุนทั้งผ่านรูปแบบ PPP และ Matching Found” ประเสริฐ กล่าว

1.) ใช้ IoT

2.) จัดทำสถาปัตยกรรมทางดิจิทัล กระทรวงมีแนวคิดเรื่อง Digital Literacy จัดอบรมทั้งภาคราชการ และเอกชน ซึ่งเรื่องดิจิทัลวอลเล็ต จะสร้างแรงจูงใจให้กับพี่น้องประชาชนได้รู้เทคโนโลยีใหม่ ๆ เงิน 10,000 บาทถึงมือพี่น้องประชาชนครบทุกบาททุกสตางค์นอกจากนี้แล้ว Blockchains ยังสามารถสร้างความโปร่งใส สร้างงานที่เกี่ยวข้องกับศิลปะ และคาดว่ารวมถึงสร้างรายได้ได้ทั่วโลก

3.) ความโปร่งใสในการจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐ open contracting policy เรามุ่งมั่นจะนำมาแก้ไขเพื่อให้เกิดความโปร่งใส คือ การใช้ระบบการจ่ายเงินภาครัฐผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์, การเปิดขอใบอนุญาตและขอใบรับรองผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ในรูปแบบ one stop service, นำระบบบล็อกเชนมาใช้เพื่อขับเคลื่อนเป็น Digital Government 

ต่อมา ณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒิ สส.แบบบัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล ได้ขอลุกขึ้นอภิปรายว่า หลายอย่างที่ท่านได้นำเรียนเจ้าหน้าที่ได้เตรียมมาให้ ซึ่งหลายอย่างเป็นเรื่องของรายละเอียดที่ต้องมีการลงรายละเอียด ในส่วนของคลาวด์กลางภาครัฐ จะใช้วิธีการดึงดูดนักลงทุนโดยมีการวางเงื่อนไขที่เกิดการจ้างงาน และประเทศไทยได้ประโยชน์ส่วน Digital ID ที่เป็นปัญหาอยู่ เพราะมีค่าธรรมเนียมที่แพง และไม่ทำให้เกิดการใช้จริง ส่วน Thai ID มีปัญหาที่เป็นของกระทรวงมหาดไทย และไม่มีการเชื่อมโยงข้อมูลทำให้ไม่มีการเกิดดาต้าอีโคโนมี่

“การแก้ปัญหาคือควรไปเจรจาทำให้ Digital ID เป็นช่องทางกลางในการแลกเปลี่ยนข้อมูลของประเทศ และเอา Thai ID มารถเชื่อมกับ ID ให้ได้โดยไม่มีค่าธรรมเนียมซึ่งก่อนการจัดตั้งรัฐบาลเราได้มีการพูดคุยกันเรื่องนี้จนได้ข้อสรุปที่เรียบร้อยแล้ว และเรื่องของ Health Link โรงพยาบาลไม่ยอมเข้าร่วมครบทั้งระบบ ไม่ว่าจะเป็นของรัฐ หรือเอกชน เพราะไม่มีข้อมูลกลางใน การแลกเปลี่ยนข้อมูลสุขภาพระหว่างกัน” ณัฐพงษ์ กล่าว