ไม่พบผลการค้นหา
วิทยาศาสตร์ไทยอีก 10 ปี ข้างหน้า ?
Sep 2, 2012 10:27

รายการ Intelligence ประจำวันที่ 2 กันยายน 2555

 

รายงาน Intelligence ตลอดเดือนกันยายน จะนำเสนอซีรีย์พิเศษ ชุดอนาคตประเทศไทย หรือ Thailand ' Future     ร่วมพูดคุยกับผู้เชี่ยวชาญในแวดวงต่าง ๆ เช่น การเมือง  ปฎิรูปศาล   เศรษฐกิจ   สังคม  บันเทิง กีฬา  เทคโนโลยี  และวิทยาศาสตร์

 
2  นักวิทยาศาสตร์ ที่เชิญมาร่วมรายการ จะมองวงการวิทยาศาสตร์ไทยในอนาคตว่าจะก้าวไปอย่างไร และการคิดค้น นวัตกรรมใหม่ ๆ ของ จะเปลี่ยนโฉมวงการวิทยาศาสตร์โลกไปอย่างไร
 
รศ.ดร.สิรินทรเทพ  เต้าประยูร  ผู้อำนวยการบัณฑิตวิทยาร่วมด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีพลังงานและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี มองว่า วงการวิทยาศาสตร์ไทยไม่ก้าวหน้า  เพราะขาดการสนับสนุนจากรัฐ  เอกชน  อีกทั้งระบบการศึกษา และสังคม ยังไม่เอื้อต่อการพัฒนานักวิทยาศาสตร์ทั้งในเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ  รศ.ดร.สิรินทรเทพ เน้นว่าต้องมีเส้นทางเติบโตในสายวิชาชีพ ให้กับผู้ที่จะก้าวขึ้นมาเป็นนักวิทยาศาสตร์ หรือนักวิจัย  และควรต้องนำเอาวิทยาศาสตร์มาไปตัวสร้างรายได้ให้กับผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ GDP  ไม่ใช่วิ่งตามหรือซื้อเทคโนโลยี   ที่มีราคาแพงมาใช้อย่างในปัจจุบัน
 
ผศ.ดร.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ จากภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประเมินในทิศทางเดียวกันว่า ประเทศไทยในปี 2000 จนมาถึง 2012 เรายังอยู่กับที่  แต่ในเวทีโลกเราอยู่ในสภาพถดถอย เพราะเพื่อนบ้าน เช่น มาเลเซีย อินโดนีเซีย  เวียดนาม มีความก้าวหน้าด้านวิทยาศาสตร์มาก
 
ผศ.ดร.เจษฎา ยังนำข้อมูลจาก Intel มาเผยแพร่ โดยเฉพาะ 23 เทคโนโลยีล้ำยุคที่จะได้เห็นในปี 2021 (พ.ศ.2564)  ที่อาจจะเปลี่ยนชีวิตของคุณไปอย่างสิ้นเชิง  เช่น ในปี 2012  ห้องปฏิบัติการ Curiosity ลงสำรวจดาวอังคารได้แล้ว ปีนี้ยังมีความเป็นไปได้ที่คนที่เป็นอัมพาตจะเดินได้
 
ปี 2013  กระดาษอิเลคทรอนิคส์  โดยนักวิทยาศาสตร์กำลังพัฒนาเอาระบบวีดีโอสี รวมกับเครื่องแท็บเล็ตซึ่งมีราคาถูกลงเรื่อย ๆ  หนังสือพิมพ์ในอนาคตจะเป็นแบบดิจิตอล  นอกจานี้ ระบบ 4 จีจะเป็นมาตรฐานใหม่สำหรับโทรศัพท์มือถือ
 
ปี 2014 เอสดี เมมโมรีการ์ดจะเปลี่ยนขนาดเป็น 1 เทราไบต์ หรือเท่ากับ 1000 Gigabyte เพื่อรองรับการถ่ายเทข้อมูลที่จะมีมากขึ้น และความนิยมในการใช้ระบบ cloud computung จะสูงขึ้น   อีกทั้งยังมีการประดิษฐ์ เครื่องบินพลังแสงอาทิตย์ เรือตัดน้ำแข็งขั้วโลก
 
ปี 2015  เมืองมาสดาร์ ที่อ้างเป็นเมืองที่ยังยืนและไม่กาซเรือนกระจกแห่งแรกในโลก จะเกิดขึ้นชานกรุงอาบูดาบี เมืองนี้จะใช้พลังงานแสงอาทิตย์ และพลังงานหมุนเวียนแหล่งอื่นๆ
 
คำถามสำคัญก็คือ ประเทศไทย เตรียมพร้อมรับนวัตกรรมใหม่ในอนาคตแล้วหรือยัง ?
     
Voice TV
กองบรรณาธิการ วอยซ์ทีวี
181Article
60261Video
0Blog