ไม่พบผลการค้นหา
World Trend - อังกฤษปรับเฟซบุ๊ก 21 ลบ.จากกรณี 'เคมบริดจ์อนาลิติกา' - Short Clip
World Trend - แคลิฟอร์เนียถูกฟ้องหลังผ่านกฎหมาย 'ความเป็นกลางทางเน็ต' - Short Clip
World Trend - พนง.กูเกิลทั่วโลกประท้วงกรณีล่วงละเมิดทางเพศในที่ทำงาน - Short Clip
World Trend - ยูทูบ เตรียมเพิ่มฟีเจอร์ไม่ระบุตัวตนเข้าใช้งาน - Short Clip
World Trend - ส่งออกจีนชะลอตัว ผลกระทบจากสงครามการค้า - Short Clip
World Trend - หลายบริษัทในจีนห้ามพนักงานซื้อผลิตภัณฑ์ 'แอปเปิล' - Short Clip
World Trend - 'เหรินเจิ้งเฟย' ชี้ สหรัฐฯ ประเมินหัวเว่ยต่ำไป - Short Clip
World Trend - GM เตรียมปิดโรงงานในอเมริกาเหนือ-ปลดพนง. 14,000 คน - Short Clip
World Trend - นิวซีแลนด์ห้ามบริษัทสื่อสารใช้อุปกรณ์ 5G จากหัวเว่ย - Short Clip
World Trend - นักแสดงผิวสีจัดฉากโดนทำร้าย หวังขึ้นค่าตัว - Short Clip
World Trend - 'แอมะซอนโก' ทดลองให้บริการร้านขนาดเล็กขยายฐานลูกค้า - Short Clip
World Trend - จีนสั่งแบน Twitch แอปฯ สตรีมอีสปอร์ตยอดนิยม  - Short Clip
World Trend - จีนเล็งเปิด 'เมืองแพนด้า' ใหญ่กว่าดิสนีย์แลนด์ 110 เท่า - Short Clip
World Trend - ทรัมป์ค้านฝรั่งเศสเก็บภาษีบริษัทไอที - Short Clip
World Trend - 'Crazy Rich Asians' กวาดรายได้สุดสัปดาห์แรกทำลายสถิติ - Short Clip
World Trend - ทำไมจีนยังต้องพึ่ง 'ซิลิคอนแวลลีย์' ? - Short Clip
World Trend - ‘บอต’ ครองพื้นที่ 2 ใน 3 ของทวิตเตอร์ - Short Clip
World Trend - เฟซบุ๊กปรับดีไซน์ รองรับเพจธุรกิจท้องถิ่นมากขึ้น - Short Clip
World Trend - 'หม่า' เผย สงครามการค้า กระทบการสร้างงานในสหรัฐฯ - Short Clip
World Trend - ทวีตเหยียดส.ส.หญิงของทรัมป์ไม่ผิดกฎ - Short Clip
World Trend - ไมโครซอฟท์เตรียมป้องกันการแทรกแซงเลือกตั้งสหรัฐฯ - Short Clip
Aug 24, 2018 16:31

ไมโครซอฟท์เตรียมปล่อยโปรแกรมพิเศษ เพื่อรับมือปฏิบัติการแทรกแซงการเลือกตั้งสหรัฐฯ ที่อาจเกิดขึ้นอีกครั้งในอนาคต พร้อมย้ำว่าไมโครซอฟท์อาจตกเป็นเป้าที่จะถูกแฮกข้อมูลได้เช่นกัน ไม่ใช่เพียงเฟซบุ๊ก ยูทูบ และทวิตเตอร์

เว็บไซต์ CNN Tech รายงานว่า โดยปกติแล้วเมื่อมีการพูดถึงประเด็นของการใช้เทคโนโลยีที่เข้ามาแทรกแซงการเลือกตั้งสหรัฐฯ ผู้คนส่วนใหญ่มักจะเน้นไปที่แพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียยักษ์ใหญ่อย่าง เฟซบุ๊ก ยูทูบ และทวิตเตอร์ ในการเป็นสื่อกลางเพื่อกระจายข่าวปลอม แต่ล่าสุดทางบริษัทไมโครซอฟท์ได้ออกมาย้ำเตือนสาธารณะว่า ไมโครซอฟท์ก็ถือเป็นหนึ่งในเป้าหมายสำคัญที่บรรดาแฮกเกอร์จากทั่วโลกพยายามโจมตี และใช้เป็นเครื่องมือในการส่งข้อมูลบิดเบือนให้กับผู้มีสิทธิ์ออกเสียง เพื่อแทรกแซงการเลือกตั้งเช่นกัน

ล่าสุด ไมโครซอฟท์ได้ประกาศออกมาอย่างเป็นทางการแล้วว่า ทางบริษัทกำลังเพิ่มมาตรการป้องกันก่อนการเลือกตั้งครั้งต่อไปของสหรัฐฯ ด้วยโปรแกรมการปกป้องประชาธิปไตย หรือ 'Defending Democracy Program' โดยจะมีการเปิดตัวบริการใหม่ที่เรียกว่าAccountGuard ให้กับบรรดาผู้สมัครชิงตำแหน่งทางการเมืองและทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้นำไปติดตั้งเพื่อรักษาความปลอดภัยให้กับบัญชีโซเชียลมีเดียของตัวเองอีกชั้นแบบไม่มีค่าใช้จ่าย

โดยตัวระบบ AccountGuard จะคอยสแกนตรวจจับความผิดปกติที่อาจเกิดขึ้นกับบัญชีผู้ใช้งานของผู้ลงสมัครชิงตำแหน่งทางการเมืองและบัญชีของหน่วยงานต่าง ๆ หากพบว่ามีความพยายามที่จะแฮกระบบเกิดขึ้น ระบบAccountGuard จะส่งสัญญาณแจ้งเตือนผู้ใช้งานทันที เพื่อให้รู้ตัวและสามารถจัดการกับเหล่าแฮกเกอร์ได้ทันท่วงที นอกจากนั้น ตัวระบบAccountGuard ยังนำองค์ความรู้ด้านการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ที่อัปเดตข้อมูลล่าสุดมาใช้อีกด้วย จึงมั่นใจได้ระดับหนึ่งว่าจะปลอดภัยจากการคุกคามใหม่ ๆ บนโลกออนไลน์

อย่างไรก็ตาม ไม่ใช่เพียงแค่บริษัทไมโครซอฟท์เท่านั้นที่มีความมุ่งมั่นในการคิดค้นผลิตภัณฑ์รักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์เพื่อการเลือกตั้งโดยเฉพาะ เพราะก่อนหน้านี้ บริษัทกูเกิลได้เปิดตัวผลิตภัณฑ์ที่คล้ายกันออกมาภายใต้ชื่อAdvanced Protection ซึ่งเป็นเวอร์ชันที่ต่อยอดมาจากProtect Your Election โดยระบบที่ว่านี้ถูกออกแบบมาเป็นอย่างดีเพื่อไม่ให้เกิดการเข้าข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งทางการเมือง

เว็บไซต์ CNN Tech มองว่า การเปิดตัวบริการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์แบบฟรี ๆ ให้กับผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการเลือกตั้งในครั้งนี้ ไม่ใช่ความตั้งใจที่จะสร้างคุณงามความดีให้กับระบบการเลือกตั้งของประเทศเลยสักทีเดียว เนื่องจากการที่บรรดาบริษัทด้านเทคโนโลยีรายใหญ่เหล่านี้ออกมาแสดงความต้องการที่จะปกป้องระบอบประชาธิปไตยของประเทศ คือการตัดไฟตั้งแต่ต้นลมเพื่อไม่ให้บริษัทของตัวเองต้องตกอยู่ในสภาพอย่างเช่นกรณีของเฟซบุ๊กนั่นเอง

เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา ไมโครซอฟท์ เฟซบุ๊ก และทวิตเตอร์ ได้ตรวจพบความพยายามเจาะเข้าระบบ รวมถึงแคมเปญที่พยายามบิดเบือนข้อมูลของแฮกเกอร์ในประเทศรัสเซียและอิหร่าน โดยได้ทำการลบแคมเปญเหล่านี้ไปเรียบร้อยแล้ว แต่ยังไม่มีข้อพิสูจน์ที่ชัดเจนที่ชี้ว่า การกระทำเหล่านี้เป็นความพยายามเพื่อบิดเบือนผลการเลือกตั้งสหรัฐฯ ครั้งถัดไปหรือไม่

อย่างไรก็ตาม ในวันเดียวกันนั้นสำนักข่าว CNN ได้รายงานว่า คณะกรรมการพรรคเดโมแครตได้ติดต่อไปยังสำนักงานสอบสวนกลางของสหรัฐฯ หรือ FBI พร้อมระบุว่า ทางคณะกรรมการตรวจพบความเคลื่อนไหวของกลุ่มแฮกเกอร์ขณะพยายามแฮกข้อมูลของชาวอเมริกันที่มีสิทธิ์ในการออกเสียงเลือกตั้ง

ทั้งนี้ ความพยายามในการเข้ามาช่วยป้องกันความปลอดภัยให้กับการเลือกตั้งสหรัฐฯ ของบริษัทไมโครซอฟท์ ถือเป็นวิธีการทำการตลาดที่ดีในเวลาที่เหมาะสม แม้ว่าทางไมโครซอฟท์จะมีความสัมพันธ์ที่แนบแน่นในการทำธุรกิจกับบริษัทต่าง ๆ มากมาย รวมถึงรัฐบาลของสหรัฐฯ อยู่แล้วก็ตาม แต่ถือเป็นโอกาสอันดีที่จะตอกย้ำภาพลักษณ์ของบริษัทให้ผู้บริโภคทุกคนรู้ว่า ไมโครซอฟท์นั้นใส่ใจที่จะทำให้การเลือกตั้งที่กำลังจะเกิดขึ้นเป็นธรรมมากที่สุด หลังจากที่นายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ขึ้นดำรงตำแหน่งมาได้ครึ่งวาระ หรือ 2 ปีเต็มแล้ว

Voice TV
กองบรรณาธิการ วอยซ์ทีวี
187Article
76559Video
0Blog