ไม่พบผลการค้นหา
4 ปีคสช.ไม่ฟังเสียงประท้วง!! ใช้อำนาจขัดหลักสากล
May 3, 2018 08:19

​คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ร่วมกับวิทยาลัยโลกคดีศึกษา (School of Global Studies) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และสำนักงานสัญญาธรรมศักดิ์ เพื่อประชาธิปไตย จัดเสวนา "สิทธิในการประท้วง : หลักการปกป้องสิทธิมนุษยชนในการประท้วง" ที่ มธ.ท่าพระจันทร์ วิทยากรประกอบด้วย 

- Mr.Matthew Bugher วิทยาลัยโลกคดีศึกษา

- น.ส.พิมพ์สิริ เพชรน้ำรอบ นักเคลื่อนไหวด้านสิทธิมนุษยชน

- นายรังสิมันต์ โรม กลุ่มฟื้นฟูประชาธิปไตย

- นายอัมรินทร์ สายจันทร์ มูลนิธินิติธรรมสิ่งแวดล้อม 

ดำเนินรายการโดย อาจารย์วิโรจน์ อาลี คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

vlcsnap-2018-05-03-15h19m46s870.png

นายรังสิมันต์ กล่าวว่า ผู้มีอำนาจควรอ่านหนังสือเล่มนี้ จะได้รู้ว่าตัวเองใช้อำนาจได้แค่ไหน มีพันธกรณีผูกพันอย่างไร เพราะขณะนี้ประเทศมีสภาวะการใช้อำนาจตามอำเภอใจ

สำหรับ 4 ปีที่ผ่านมานับแต่รัฐประหาร 2557 ระบอบที่เป็นอยู่ในเวลานี้มักจะบอกว่าการประท้วงทำให้ประเทศวุ่นวาย ดังนั้น ผู้มีอำนาจจึงอาศัยช่องทางนี้ในการรักษาอำนาจ ต้องการให้ประชาชนเกลียดกลัวการประท้วง ถ้าประชาชนเชื่ออย่างที่ผู้มีอำนาจต้องการ ก็จะไม่สามารถกดดันรัฐได้ ไม่ได้รับแม้แต่สิทธิพื้นฐานอย่างการเลือกตั้ง

ต้องไม่ลืมว่า การที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา บอกว่าจะมีการเลือกตั้งในเดือนกุมภาพันธ์ 2562 ก็เพราะว่ามีกลุ่มคนอยากเลือกตั้งประท้วงวันที่ 10 ก.พ.61 หลังจากนั้นนายกรัฐมนตรีจึงบอกว่าจะมีการเลือกตั้งปี 2562 ขณะเดียวกันการเลือกตั้งก็อาจถูกเลื่อนออกไป เพราะหากการประท้วงไม่สามารถกดดันรัฐได้อย่างเต็มที่ สิทธิขั้นพื้นฐานก็จะถูกลดทอนต่อไปเรื่อยๆ

สำหรับหนังสือเล่มนี้ รับรองสิทธิการประท้วงในโลกออนไลน์ ซึ่งเป็นหนึ่งในหลายวิธีที่ไม่จำเป็นต้องประท้วงลงถนน แต่กลุ่มคนอยากเลือกตั้ง เชื่อมั่นในการลงถนน เพราะได้รับบทเรียนมาแล้วว่า แม้คน 3 แสนคนจะลงชื่อในโลกออนไลน์เพื่อคัดค้าน พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ แต่สุดท้ายรัฐก็ประกาศใช้จนได้

“คำถามคือ ถ้าคน 3 แสนคนนี้ประท้วงบนถนน แล้ว พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์จะผ่านไหม ผมเชื่อว่าไม่ผ่าน เพราะผมชุมนุมมีคนแค่พันคน เราก็ได้รับสัญญาจากนายกรัฐมนตรีว่าจะได้รับการเลือกตั้งในเดือนกุมภาพันธ์ 2562 ดังนั้น ถ้าเรามี 3 แสนคนบนถนนราชดำเนิน เชื่อว่าการเลือกตั้งจะเกิดขึ้นได้ในเดือนพฤศจิกายน 2561 เพียงแต่ว่า เราไม่มี นั่นคือความตลกร้าย”  


vlcsnap-2018-05-03-15h20m19s210.png

Mr.Matthew Bugher วิทยาลัยโลกคดีศึกษา มธ. (School of Global Studies) กล่าวว่า สิทธิการประท้วงอยู่ภายใต้มาตรฐานสากล แต่ปัจจุบันการประท้วงไม่สามารถทำได้ในไทย ส่งผลให้ไม่สามารถพูดถึงสิทธิของเจ้าหน้าที่ที่จะปฏิบัติต่อผู้ประท้วง แสดงให้เห็นว่าสิทธิการประท้วงในไทยเป็นสิ่งที่เพิ่งเริ่มต้น

ทุกคนทราบดีว่า เมื่อ 4 ปีที่แล้วหลังรัฐประหาร มีการห้ามประท้วงทุกรูปแบบโดยการใช้คำสั่ง คสช. มาเป็นตัวกำหนด การไม่อนุญาตให้มีการชุมนุม เป็นการทำลายการพัฒนาสังคมในทุกด้าน เพราะการประท้วงเป็นสิทธิพื้นฐานที่สำคัญมากที่สุด ที่จะสร้างพลังให้คนกลุ่มน้อยที่ถูกละเลย ได้สามารถแสดงออกถึงปัญหาของเขาเอง ดังนั้น 4 ปีที่ถูกห้ามประท้วง ทำให้คนที่มีปัญหาไม่สามารถพูดเรื่องของเขาได้

การมาบรรยายวันนี้เพื่อเปิดตัวหนังสือที่แปลมาจาก Article 19, The Right to Protest สิทธิในการประท้วง: หลักการปกป้องสิทธิมนุษยชนในการประท้วง

ใจความสำคัญของหนังสือ เป็นการบอกรายละเอียดหลักการสากลเกี่ยวกับการประท้วง หลักการต่างๆ ในหนังสือเล่มนี้ นำใจความสำคัญมาจากกฎหมายระหว่างประเทศ ที่รัฐบาลไทยได้ลงนามเป็นภาคี ทำให้รัฐบาลมีหน้าที่ต้องให้ประชาชนสามารถประท้วงได้ ไม่ใช่ขัดขวางการใช้สิทธิของประชาชน ที่ตนเองได้รับไว้ในกฎหมายระหว่างประเทศ

หวังว่าข้อมูลในหนังสือ จะเป็นเครื่องมือให้นักปกป้องสิทธิ นักกิจกรรมสามารถนำไปใช้ส่งเสริมให้คนในสังคมรู้สิทธิการประท้วงของเขา


vlcsnap-2018-05-03-15h20m39s215.png

น.ส.พิมพ์สิริ เพชรน้ำรอบ นักเคลื่อนไหวด้านสิทธิมนุษยชน กล่าวว่า การเปิดพื้นที่การประท้วง เป็นการลดความไม่พอใจของคนในสังคม แทนที่จะมองว่าผู้มาประท้วงเป็นศัตรูของรัฐ ควรจะมองว่าการประท้วงเป็นเหมือนกาต้มน้ำที่มีรูระบายอากาศ ถ้าเราอุดทุกรูก็จะระเบิด เพราะถ้าไม่เปิดโอกาสให้สังคมแสดงออกได้อย่างเสรีในหลายกรณีประชาชนที่โกรธแค้นก็จะหันไปใช้ความรุนแรงเป็นทางออก

ส่วนตัวมีข้อเสนอว่า กฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศและรัฐธรรมนูญ น่าจะเปลี่ยนคำว่า สิทธิการชุมนุมอย่างสงบ (peaceful assembly) เป็น“การประท้วงอย่างสันติ” (peaceful protest) เพราะการชุมนุมต้องมีการเอะอะ มีการสื่อสาร ไม่สามารถเป็นไปอย่างสงบ แต่สามารถเป็นไปอย่างสันติได้


vlcsnap-2018-05-03-15h20m46s953.png

นายอัมรินทร์ สายจันทร์ มูลนิธินิติธรรมสิ่งแวดล้อม กล่าวว่า ข้อห้ามในการุมนุม ให้งดใช้เรื่องขยายเสียงงดใช้ป้ายผ้ารณรงค์ จะเป็นไปได้อย่างไรที่การชุมนุมจะไม่ใช้เครื่องขยายเสียง จะให้ไปกระซิบคุยกันหรืออย่างไร และในแง่การรักษาความปลอดภัยการชุมนุม ผู้ที่จัดการการชุมนุม จำเป็นต้องควบคุมดูแลการชุมนุม ดังนั้น การใช้เครื่องขยายเสียงจึงเป็นสิ่งจำเป็น

สำหรับการงดจัดกิจกรรมที่ขัดต่อคำสั่ง 3/58 ก็ไม่มีความชัดเจน เพราะคำถามคืออะไรบ้างที่ถูกห้าม เมื่อทุกอย่างถูกตีความเข้าสู่การเมือง ซึ่งความจริงการเคลื่อนไหวภาคประชาชนก็เป็นเรื่องการเมืองอยู่แล้ว แต่ไม่ควรห้ามชุมนุมในทุกเรื่อง การไม่อนุญาตให้มีการชุมนุม เป็นการทำลายการพัฒนาสังคมในทุกด้าน การประท้วงเป็นสิทธิพื้นฐานที่สำคัญมากที่สุด ที่จะสร้างพลังให้คนกลุ่มน้อยที่ถูกละเลย ได้สามารถแสดงออกถึงปัญหาของเขาเอง

4 ปีที่ถูกห้ามประท้วง ทำให้คนที่มีปัญหาไม่สามารถพูดเรื่องของเขาได้ การมาบรรยายวันนี้เพื่อเปิดตัวหนังสือที่แปลมาจาก Article 19, The Right to Protest สิทธิในการประท้วง: หลักการปกป้องสิทธิมนุษยชนในการประท้วง ใจความสำคัญของหนังสือ เป็นการบอกรายละเอียดหลักการสากลเกี่ยวกับการประท้วง หลักการต่างๆ ในหนังสือเล่มนี้ นำใจความสำคัญมาจากกฎหมายระหว่างประเทศ ที่รัฐบาลไทยได้ลงนามเป็นภาคี ทำให้รัฐบาลมีหน้าที่ต้องให้ประชาชนสามารถประท้วงได้ ไม่ใช่ขัดขวางการใช้สิทธิของประชาชน ที่ตนเองได้รับไว้ในกฎหมายระหว่างประเทศ หวังว่าข้อมูลในหนังสือ จะเป็นเครื่องมือให้นักปกป้องสิทธิ นักกิจกรรมสามารถนำไปใช้ส่งเสริมให้คนในสังคมรู้สิทธิการประท้วงของเขา