อารามหลายแห่งในยุโรปกลายเป็นสถานที่ผลิตเบียร์พระทำ หรือ เบียร์แทรปปิสต์ และกลายเป็นหนึ่งในธุรกิจของศาสนาจักรจากคณะนักบวชแทรปปิสต์ที่นำมาหล่อเลี้ยงอารามและคณะนักบวช
เบียร์พระทำ หรือ เบียร์แทรปปิสต์เป็นหนึ่งในธุรกิจของศาสนาจักรจากคณะนักบวชแทรปปิสต์ที่กระจายตัวในประเทศต่างๆทั่วยุโรป ซึ่งคณะนักบวชแทรปปิสต์ เป็นส่วนหนึ่งของนิกาย Cistercian ซึ่งอยู่ภายใต้โรมันคาทอลิก พระจากนิกายดังกล่าวนอกจากจะต้องสวดมนต์และประกอบพิธีกรรมทางศาสนาต่างๆ อย่างเคร่งครัดแล้ว พระแทรปปิสต์ยังจะต้องใช้แรงงานและอาศัยอยู่อย่างพอเพียงด้วยการหาอาหารและหาสิ่งของดำรงชีพเองอย่างโดดเดี่ยว
เบียร์แทรปปิสต์ที่มีชื่อเสียงส่วนใหญ่อยู่ในประเทศเบลเยี่ยม เนื่องจากหลังการปฏิวัติฝรั่งเศสกลุ่มนักบวชแทรปปิสต่างออพยพออกมานอกฝรั่งเศส เบลเยี่ยมเป็นหนึ่งในประเทศที่มีกลุ่มนักบวชแทรปปิสต์ไปอาศัยอยู่มากที่สุด ทำให้อารามต่างๆต่างผลิตเบียร์เป็นของตนเอง
สมาคมนักบวชแทรปปิสต์นานาระบุว่า เบียร์แทรปปิสต์นั้นจะต้องมีคุณสมบัติ 3 ข้อ คือ
1 : ต้องผลิตภายในรั้วกำแพงของอาราม และภายใต้การควบคุมของนักบวชแทรปปิสต์เท่านั้น เนื่องจากไม่อยากให้มีการค้ากำไรเกิดขึ้น และต้องการให้การผลิตผสานกับการสวดภาวนาในฐานะนักบวชเป็นหนึ่งเดียวกัน
2 : กระบวนการผลิตรวมถึงแนวทางการทำงานจะต้องขึ้นตรงและถูกดูแลอย่างละเอียดโดยนักบวชแทรปปิสต์ โดยนักบวชผู้ผลิตเบียร์ลา ทร้าป ยึดถือมาตลอด นับตั้งแต่บาทหลวงดิซิโดรัสคิดค้นสูตรเบียร์ขึ้นในปี ค.ศ.1884 ปัจจุบันนักบวชแห่งอาราม เดอ โคนิงชูเว่น ยังคงผลิตลา ทร้าป ด้วยการใช้ส่วนผสมชั้นดีจากธรรมชาติ แม้แต่น้ำที่ใช้ผลิตก็ดึงมาจากบ่อน้ำในอารามซึ่งลึกกว่า 150 เมตร
3 : การผลิตต้องมุ่งค้ำจุนอาราม การค้าขายและแสวงหาผลกำไรต้องตั้งอยู่บนความเหมาะสมและเป็นไปเพื่อการกุศล ซึ่งเป็นข้อสำคัญ ถือเป็นคุณค่าของเบียร์แทรปปิสต์มานับตั้งแต่อดีต จนถึงปัจจุบัน
ปัจจุบันมีอารามเพียง 14 แห่งของโลกเท่านั้น โดยส่วนใหญ่อยู่ในภูมิภาคยุโรป สหราชอาณาจักรและสหรัฐฯที่ได้รับการยอมรับให้ใช้ชื่อคณะสงฆ์แทรปปิสต์ในการขออนุญาตประกอบกิจการผลิตเบียร์ยี่ห้อที่หลากหลายแตกต่างกันออกไป