ไม่พบผลการค้นหา
World Trend - ​อัลฟาเบตลงทุนเพิ่มหมื่นล้านกับ 'เมืองใหม่' - Short Clip
World Trend - มหาเศรษฐีโลกรวยขึ้นวันละ 2,500 ล้านดอลลาร์ - Short Clip
World Trend - ธุรกิจกัญชาบูม มีแรงงานมากกว่าสาธารณสุข - Short Clip
World Trend - อังกฤษปรับ 'เพศศึกษา' ให้ครอบคลุมกว้างกว่าเดิม - Short Clip
World Trend - มูลค่า 'บิตคอยน์' ตกลงต่ำสุดในรอบเดือน - Short Clip
World Trend - ชาวอังกฤษเที่ยวแพงขึ้นหลังมติ 'เบร็กซิต' - Short Clip
World Trend - 'ชุดเช่า' เทรนด์ธุรกิจแฟชั่นที่ยังไปได้อีกไกล - Short Clip
World Trend - ลูกจ้างอังกฤษเกินครึ่งเชื่อ 'เจ้านายคอยแอบดู' - Short Clip
World Trend - มาเลเซียจะกลับมาเป็น 'เสือแห่งอาเซียน' ใน 3 ปี - Short Clip
World Trend - สหรัฐฯ พัฒนาเอไอตรวจจับเนื้องอก - Short Clip
World Trend - ​คาด 'เงินพนัน' สะพัดเป็นประวัติการณ์ในซูเปอร์โบวล์ปีนี้ - Short Clip
World Trend - ความเจริญของเอไอทำร้ายประเทศกำลังพัฒนา? - Short Clip
World Trend - ​'บาหลี' ยังไม่รักษ์โลกพอ - เร่งลดพลาสติกในทะเล - Short Clip
World Trend - เทรนด์การกินทำให้คนทำอาหารหลายรอบในหนึ่งมื้อ - Short Clip
World Trend - จีนเตรียมส่งต่อปัญหาขยะพลาสติก 111 ล้านตันให้ชาวโลก - Short Clip
World Trend - 'อ้ายฉีอี้' เปิดตัวแอปฯ ใหม่ เจาะตลาดผู้สูงวัย - Short Clip
World Trend - ยอดขายหัวเว่ยทะลุแสนล้าน แม้ถูกกีดกันจากทั่วโลก - Short Clip
World Trend - บริษัทดังชี้ AI จะสร้างงานให้คน - Short Clip
World Trend - นทท.จีนเดินทางไปฮ่องกงเพิ่มขึ้นแม้เงินหยวนอ่อนค่า - Short Clip
World Trend - อังกฤษเล็งระงับใช้รถไฟดีเซลภายใน 2040 - Short Clip
World Trend - รถยนต์ไฟฟ้าไม่ใช่ยาครอบจักรวาล - Short Clip
Nov 23, 2018 16:33

ปัจจุบันหลายบริษัทพยายามแข่งขันกันพัฒนาเทคโนโลยีรถยนต์ไฟฟ้า แต่ล่าสุด ได้มีการตั้งคำถามว่าการใช้ไฟฟ้ากับรถยนต์และระบบทำความร้อน จะสามารถช่วยลดโลกร้อนได้อย่างที่หลายฝ่ายคาดการณ์จริงหรือไม่

ท่ามกลางกระแสความตื่นตัวเกี่ยวกับการใช้รถยนต์ไฟฟ้า ซึ่งจะเห็นได้จากการที่ค่ายรถยนต์ยักษ์ใหญ่แต่ละแห่ง รวมถึงบริษัทเทคโนโลยี ต่างแข่งกันพัฒนารถยนต์ไฟฟ้า โดยมุ่งให้มีศักยภาพใกล้เคียงกับรถยนต์ที่ใช้เชื้อเพลิงแบบดั้งเดิมมากที่สุด แต่บทความล่าสุดจากบลูมเบิร์กที่ใช้ชื่อว่า Electrifying the World Is No Panacea for Global Warming, IEA Says หรือ 'องค์การพลังงานระหว่างประเทศชี้ การทำทุกอย่างในโลกให้เป็นไฟฟ้าไม่ใช่ยาครอบจักรวาลสำหรับแก้ปัญหาโลกร้อน' เพราะสิ่งที่สำคัญที่สุดในการบรรเทาปัญหาโลกร้อนคือต้องลดการปล่อยแก๊สคาร์บอนให้ได้เสียก่อน ขณะที่ การใช้รถยนต์ไฟฟ้าอาจเป็นการเพิ่มมลพิษทางอากาศเสียด้วยซ้ำ

องค์การพลังงานระหว่างประเทศ หรือ IEA ได้ออกมาประเมินภาพรวมการใช้พลังงานและคาดการณ์สถานการณ์ในอนาคตในรายงาน World Energy Outlook ประจำปี ว่าการที่จะลดปริมาณมลพิษที่เป็นอันตรายต่อประชากรโลกให้ได้ภายในปี 2040 หรือในอีก 22 ปีข้างหน้านั้น มาตรการเปลี่ยนทุกอย่างให้เป็นไฟฟ้าเพียงอย่างเดียว ไม่สามารถทำให้บรรลุผลได้ แต่จำเป็นต้องมีนโยบายลดการปล่อยแก๊สคาร์บอนที่บังคับใช้อย่างจริงจังกว่านี้ และต้องปรับปรุงประสิทธิภาพของพลังงานแต่ละประเภทด้วย

ล่าสุด องค์การสหประชาชาติเพิ่งออกมาเรียกร้องให้จัดตั้งงบประมาณ 2.4 ล้านดอลลาร์ หรือ 79 ล้านล้านบาท สำหรับลงทุนในพลังงานสะอาด เพื่อรักษาสภาพแวดล้อมที่เสียหายจากมลพิษทางอากาศ โดยความเชื่อทั่วไปคือการใช้ยานพาหนะและระบบทำความร้อนพลังงานไฟฟ้าจะช่วยให้บรรลุเป้าหมายนี้เร็วขึ้น ซึ่งก็เป็นหัวใจหลักของข้อตกลงปารีสเมื่อปี 2015 ด้วย

ด้าน ลอรี มิลลิเวียร์ตา นักวิเคราะห์อาวุโสด้านมลพิษทางอากาศของกรีนพีซ ให้ความเห็นไว้ว่า การใช้ไฟฟ้าเป็นสิ่งจำเป็นในการลดคาร์บอน แต่การใช้ไฟฟ้าเช่นนี้จะได้ผลเมื่อภาคส่วนอื่น ๆ ที่ทำหน้าที่ผลิตพลังงานพร้อมใจกันมุ่งหน้าสู่มาตรฐาน zero emissions หรือ การไม่ปล่อยคาร์บอน ด้วยความมุ่งมั่นที่เท่ากัน

ตั้งแต่ต้นศตวรรษที่ 21 เป็นต้นมา หรือก็คือช่วงขึ้นปี 2000 การปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์เพิ่มขึ้นเฉลี่ย 2.3 เปอร์เซ็นต์ต่อปี โดยมีผู้ปล่อยรายใหญ่อย่างโรงไฟฟ้าพลังถ่านหิน อย่างไรก็ตาม การเติบโตดังกล่าวเริ่มชะลอตัวลง หลังการรณรงค์ใช้พลังงานสะอาดและใช้ไฟฟ้าแทนเชื้อเพลิงดั้งเดิม ขณะที่ การปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ทั่วโลกเมื่อปีที่แล้วยังคงเพิ่มขึ้น 1 เปอร์เซ็นต์ จากปีก่อนหน้า ซึ่ง IEA คาดว่าเมื่อสิ้นสุดปี 2018 นี้ ปริมาณการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์จะสูงที่สุดเป็นประวัติการณ์

ขณะเดียวกัน การเปลี่ยนไปใช้พลังงานไฟฟ้าก็กำลังเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง จากการใช้พลังงานไฟฟ้ารวม 19 เปอร์เซ็นต์ จากพลังงานทั้งหมดในปัจจุบัน สามารถเพิ่มสัดส่วนเป็น 65 เปอร์เซ็นต์ได้ หากนโยบายที่แต่ละประเทศออกมาได้รับการบังคับใช้ทั่วโลก ขณะที่ พลังงานลมและแสงอาทิตย์ก็คิดเป็น 6 เปอร์เซ็นต์ของการผลิตไฟฟ้าทั้งหมด เทียบกับเมื่อปี 2000 ที่มีอยู่เพียง 0.2 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น นอกจากนี้ การลงทุนในภาคส่วนนี้ยังมีมูลค่าสูงถึง 750,000 ล้านดอลลาร์ หรือ 25 ล้านล้านบาท ในปี 2017 ด้วย มากกว่าการลงทุนในน้ำมันและแก๊สเป็นปีที่สองติดต่อกัน

สำหรับภูมิภาคที่เป็นผู้นำด้านพลังงานทางเลือก ได้แก่ เอเชีย ซึ่งมีปริมาณการใช้ครึ่งหนึ่งของการใช้แก๊สธรรมชาติทั้งโลก และ 60 เปอร์เซ็นต์ ของพลังงานลมและแสงอาทิตย์ นอกจากนี้ ยังมีการเติบโตด้านพลังงานนิวเคลียร์สูงอีกด้วย โดยปัจจุบันบริษัทพลังงานสัญชาติจีนมีสัดส่วนการผลิตคิดเป็น 1 ใน 8 ของพลังงานที่ใช้ทั่วโลก โดยผู้ผลิตชั้นนำ 6 ใน 10 แห่ง อยู่ในทวีปเอเชีย

อย่างไรก็ตาม สิ่งที่หลายฝ่ายโดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศไทยยังไม่ค่อยตั้งคำถามกันเท่าไรนัก ก็คือที่มาของพลังงานไฟฟ้า ที่จะมาใช้เป็นเชื้อเพลิงของรถยนต์และระบบทำความร้อนหรืออื่น ๆ ในอนาคต เพราะหากไฟฟ้าที่ได้มาจากโรงไฟฟ้าถ่านหิน และถ่านหินตามธรรมชาติในแต่ละประเทศก็มี 'เกรด' หรือคุณภาพการเผาไหม้แตกต่างกัน ก็อาจเป็นไปได้ว่าการใช้รถยนต์ไฟฟ้าในบางประเทศ จะยังคงปล่อยแก๊สคาร์บอนขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศในปริมาณไม่ต่างจากเดิม เท่ากับว่าจะไม่ช่วยบรรเทาปัญหาโลกร้อน อย่างที่บทความของบลูมเบิร์กนำเสนอเช่นกัน

Voice TV
กองบรรณาธิการ วอยซ์ทีวี
187Article
76559Video
0Blog