ไม่พบผลการค้นหา
World Trend - ​ผู้บริโภคจีนหันหาสินค้า 'เพื่อสุขภาพ' มากขึ้น - Short Clip
World Trend - ​อัลฟาเบตลงทุนเพิ่มหมื่นล้านกับ 'เมืองใหม่' - Short Clip
World Trend - ​​สตูดิโอใหญ่เลือก 'นิวเม็กซิโก' ทำเลเมืองหนังใหม่ - Short Clip
World Trend - กูเกิล-เฟซบุ๊ก 'เอาอยู่' แม้เผชิญข่าวฉาวตลอดปี 2018 - Short Clip
World Trend - แคลิฟอร์เนียลงทุนระบบขนส่งไฟฟ้าครั้งใหญ่ - Short Clip
World Trend - Infinity War ทำเงินผ่านหลัก 2,000 ล้านดอลลาร์ - Short Clip
World Trend - ชาวอเมริกันเกือบครึ่งมองว่า 'สตรีมมิง' ล้นตลาด - Short Clip
World Trend - จีนหันไปลงทุนใน 'หนัง' แทน 'สตูดิโอ' - Short Clip
World Trend - ผู้ชมจีนบ่น 'กัปตันมาร์เวล' ไม่สวยตรงสเปก - Short Clip
World Trend - 'เนื้อสัตว์ทดแทน' อุตสาหกรรมใหม่ที่อาจโตอีก 20 เท่า - Short Clip
World Trend - 'ขนสัตว์' ค่านิยมแฟชั่นที่แตกต่างของสองซีกโลก - Short Clip
World Trend - ชาวอเมริกันยอมจ่ายค่าสตรีมมิง 650 บาท/เดือน - Short Clip
World Trend - ​'อะลาดิน' โกยเงินในอเมริกาเกิน 100 ล้าน - Short Clip
World Trend - คดีคริปโตฯ เกาหลีเสียหาย 7 หมื่นล้าน - Short Clip
World Trend - ต่างชาติมองไทยเป็น 'จุดหมายการเลิกยา' - Short Clip
World Trend - เน็ตฟลิกซ์เล็งฉายหนังลุ้นรางวัลในโรงใหญ่ - Short Clip
World Trend - มหาเศรษฐีโลกรวยขึ้นวันละ 2,500 ล้านดอลลาร์ - Short Clip
World Trend - ​John Wick 3 กวาดรายได้ทั่วโลกแซง 2 ภาคแรก - Short Clip
World Trend - 'อูเบอร์' เปิดบริการเรือในมุมไบ - Short Clip
World Trend - IG 'ไคลี เจนเนอร์' มูลค่าแตะภาพละล้านดอลลาร์ - Short Clip
World Trend - ฮอลลีวูดกับการแบนกม.ทำแท้งในจอร์เจีย - Short Clip
Jun 10, 2019 06:12

ประเด็นร้อนในช่วงเดือนที่ผ่านมาในแวดวงฮอลลีวูดคงหนีไม่พ้นการที่สตูดิโอต่าง ๆ เตรียมจะแบนรัฐจอร์เจีย หลังทางการท้องถิ่นผ่านกฎหมายห้ามทำแท้งหลังอายุ 6 สัปดาห์ โดยไม่ยกเว้นกรณีข่มขืน ซึ่งจอร์เจียเป็นฐานการผลิตสำคัญของโปรดักชันหลายร้อยเรื่อง และการแบนนี้จะนำไปสู่การสูญเสียทางเศรษฐกิจมูลค่ามหาศาล

สำหรับคนที่ติดตามข่าวบันเทิง หรือแม้แต่ข่าวการผ่านกฎหมายฉบับสำคัญของสหรัฐฯ คงเคยได้ยินประเด็นร้อนที่เรียกกันสั้น ๆ ว่า Heartbeat Bill หรือ 'ร่างกฎหมายหัวใจเต้น' ซึ่งคือร่างกฎหมายที่กำหนดให้ผู้หญิงไม่สามารถทำแท้งได้หลังจากที่หัวใจของหัวอ่อนเต้น หรือก็คืออายุครรภ์ 6 สัปดาห์ โดยร่างนี้เพิ่งผ่านการเห็นชอบและลงนามไปเมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา ในรัฐโอไฮโอ มิสซูรี และจอร์เจีย ปัญหาของกฎหมายนี้ หลัก ๆ คือ ผู้หญิงส่วนใหญ่จะไม่ทราบด้วยซ้ำว่าพวกเธอตั้งครรภ์เมื่อมีอายุเพียง 6 สัปดาห์ และกฎหมายยังไม่อนุญาตให้มีการทำแท้งเป็นกรณีพิเศษ สำหรับผู้ที่ถูกข่มขืนหรือตั้งครรภ์กับคนสายเลือดเดียวกัน ซึ่งอาจทำให้ทารกคลอดออกมาผิด���กติด้วย ทำให้ประชาชนจำนวนมากที่สนับสนุนแนวคิด Pro-Choice หรือ 'ผู้หญิงมีสิทธิ์เลือก' ออกมาคัดค้านและล่ารายชื่อให้มีการชะลอการบังคับใช้และทบทวนกฎหมายอย่างเร่งด่วน

ขณะที่ ฮอลลีวูดก็เป็นหนึ่งในตัวแปรสำคัญของประเด็นร้อนนี้ เพราะที่ผ่านมา รัฐจอร์เจียกลายเป็นโลเคชันสำคัญของโปรดักชันมากมาย จากนโยบายยกเว้นภาษีโปรดักชันบันเทิงที่คุ้มค่าที่สุดเมื่อเทียบกับรัฐอื่น ๆ และโครงสร้างพื้นฐานที่สตูดิโอต่าง ๆ เข้าไปลงทุนไว้ ทำให้รัฐจอร์เจียผลิตผลงานได้มากกว่ารัฐแคลิฟอร์เนีย ซึ่งเป็นที่ตั้งของ 'ฮอลลีวูด' จริง ๆ เสียอีก

แม้ว่าจอร์เจียจะไม่ใช่รัฐเดียวที่มีนโยบายลดหย่อนภาษีและคืนเงินค่าโปรดักชันมากถึง 30 เปอร์เซ็นต์ เพราะแคลิฟอร์เนีย นิวยอร์ก หรือนิวเม็กซิโก รวมถึงรัฐอื่น ๆ ก็มีนโยบายคืนเงินที่น่าดึงดูดใจไม่น้อยเช่นกัน แต่สิ่งที่ทำให้ 'ดีล' ของจอร์เจียพิเศษกว่า คือส่วนลดที่ให้นั้น ครอบคลุมถึงต้นทุน 'ระดับสูง' (Above-the-line Cost) ซึ่งรวมถึงค่าจ้างของนักแสดง นักเขียนบท ผู้กำกับ และโปรดิวเซอร์ หรือผู้อำนวยการสร้างด้วย ความคุ้มค่านี้จึงเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ 'ย'อลลีวูด' หรือ ฮอลลีวูดในจอร์เจีย เฟื่องฟูและเติบโตอย่างก้าวกระโดด

ในปีงบประมาณ 2018 ที่ผ่านมา จอร์เจียเป็นโลเคชันสำหรับภาพยนตร์และซีรีส์มากถึง 455 โปรเจกต์ รวมเป็นมูลค่ากว่า 2,700 ล้านดอลลาร์ หรือเกือบ 85,000 ล้านบาท และมีประมาณการว่ากระตุ้นเศรษฐกิจโดยรวมภายในรัฐมากถึง 9,500 ล้านดอลลาร์ หรือเกือบ 300,000 ล้านบาท ขณะที่ ผู้ผลิตผลงานได้รับเงินคืนรวม 800 ล้านดอลลาร์ หรือ 25,000 ล้านบาท มากกว่ามูลค่าในแคลิฟอร์เนีย นิวยอร์ก และนิวเม็กซิโกรวมกัน การผ่านกฎหมายที่มีผู้ต่อต้านมากเช่นนี้จึงทำให้เกิดกระแส 'แบนจอร์เจีย' ในหมู่ผู้สร้างและนักแสดงในฮอลลีวูดในช่วงหลายสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยที่สตูดิโอใหญ่ ๆ ทั้ง Netflix Disney WarnerMedia AMC Networks NBCUniversal และ CBS Corp ออกมาประกาศ 'เฝ้าระวัง' สถานการณ์และเตรียมระงับทุกโปรดักชันในจอร์เจีย

สิ่งหนึ่งที่ 'ผิดพลาด' หรือแม้แต่เป็นการกระทำที่สุดท้ายแล้วไม่ส่งผลใด ๆ ก็คือ สตูดิโอเหล่านี้ไม่มีความเห็นขาดพอ เนื่องจากการตัดสินใจเลิกผลิตที่สถานที่ที่มีโครงสร้างพื้นฐานครบครันนั้นหมายถึงการสูญเสียรายได้และงบประมาณจำนวนมากไปแบบเปล่า ๆ และแม้คนดังอย่าง ผู้กำกับหญิง รีด โมราโน , เจเจ เอบรัมส์ , โปรดิวเซอร์ คริสติน วาโชน , จอร์แดน พีล และนักแสดงหญิง คริสติน วิก จะออกมาประกาศจุดยืนว่าอยู่ฝั่งต่อต้านกฎหมายแล้วก็ตาม แต่สตูดิโออย่าง Netflix กลับระบุเพียงว่ากำลัง 'ทบทวน' (Rethink) การลงทุนในจอร์เจีย WarnerMedia บอกว่ากำลัง 'พิจารณา' (Reconsider) และ Disney กำลัง 'จับตาสถานการณ์อย่างใกล้ชิด' (Watching very carefully) หากกฎหมายดังกล่าวมีผลบังคับใช้

แน่นอนว่าเงินทุนมหาศาลกับการเลิกดำเนินการผลิตเป็นเหตุผลที่ 'ฟังขึ้น' เมื่อเทียบกับมูลค่า 'ผลิตภัณฑ์' ของฮอลลีวูดทั้งหมด แต่สุดท้ายแล้วการขู่จะแบนหรือการแบนกลับไม่ส่งผลต่อตัวบทกฎหมายอย่างที่หลายคนอยากให้เป็น นี่อาจเป็นสาเหตุหนึ่งที่การประกาศแบนของฮอลลีวูดดูจะไม่จริงจังเท่าที่ควร ขณะเดียวกัน ช่วงเวลาสุญญากาศเช่นนี้กลับทำร้ายกลุ่มคนที่ 'ผู้ประกาศแบน' อาจไม่ได้อยากทำร้าย นั่นก็คือ ประชาชนที่เป็นแรงงานในรัฐทั้งหลาย ที่มีอาชีพยึดติดกับโปรดักชันหลายร้อยเรื่องที่กำลังจะถ่ายทำในจอร์เจีย ซึ่งถ้าหากสตูดิโอถอนทัพกลับฮอลลีวูด หรือพิจารณาโลเคชันใหม่ พวกเขาจะตกงานทันที

องค์กรไม่แสวงผลกำไรเพื่อผู้หญิงในภาพยนตร์และโทรทัศน์แห่งแอตแลนตา หรือ WIFTA เปิดเผยว่า ทางองค์กรเข้าใจเหตุผลของผู้ที่ต้องการจะแบนแอตแลนตาและรัฐจอร์เจีย จากการกระทำของรัฐบาลท้องถิ่นที่ผ่านกฎหมาย แต่ขอจงรู้ไว้ว่า ผู้หญิงในจอร์เจีย รวมถึงผู้ชายทุกคนที่ทำงานในอุตสาหกรรมบันเทิงนี้ จะเดินหน้าต่อต้านกฎหมายต่อไปจากภายใน ซึ่งแนวคิดนี้เป็นการขอร้องกลาย ๆ ให้สตูดิโอยังคงปักหลักอยู่ด้วยกัน เพื่อร่วมต่อสู้ให้เกิดผลในทางปฏิบัติมากที่สุด และผู้ที่สนับสนุนแนวทางนี้จำนวนมากก็พยายามชงประเด็นที่ว่า ประชาชนไม่ควรต้องเป็นผู้รับกรรมที่รัฐบาลเป็นผู้กระทำ

ปัจจุบัน รัฐจอร์เจียมีตำแหน่งงานกว่า 92,100 ตำแหน่ง คิดรวมเป็นค่าจ้างเกือบ 4,600 ล้านดอลลาร์ หรือ 144,000 ล้านบาท ซึ่งจำนวนนี้รวมถึงตำแหน่งงานและค่าจ้างสำหรับคนที่ไม่ได้อยู่ในกองถ่ายโดยตรงด้วย


Voice TV
กองบรรณาธิการ วอยซ์ทีวี
184Article
76559Video
0Blog