ไม่พบผลการค้นหา
World Trend - จีนจะแซงหน้าสหรัฐฯ ในการพัฒนา 'เอไอ'- Short Clip
World Trend - เนเธอร์แลนด์ลงทุนเพิ่มให้คนใช้จักรยานมากขึ้น - Short Clip
World Trend - ​'แชร์พื้นที่อาศัย' เทรนด์ฮอตใหม่ในซิลิคอนแวลลีย์ - Short Clip
World Trend - การดื่มน้ำหวานอาจเร่งให้เนื้อร้ายโตเร็ว - Short Clip
World Trend - 'มัสก์' เปิดตัวอุโมงค์ไฮสปีดแก้รถติดใต้ผิวโลก - Short Clip
World Trend - ​ออสเตรเลียหาแนวทางลดเวลาต่อคิวเลือกตั้ง - Short Clip
World Trend - 'เนื้อทางเลือก' หรือเนื้อสัตว์ในอนาคตจะมาจากแล็บ? - Short Clip
World Trend - นักวิจัยแนะใช้โซเชียลมีเดียวันละ 30 นาที - Short Clip
World Trend - บริษัทต่างชาติพึ่ง 'อาลีบาบา' เพื่อผลิตสินค้าโดนใจชาวจีน - Short Clip
World Trend - 'อาลีบาบา' ทุบสถิติยอดขายวันคนโสด - Short Clip
World Trend - นักวิจัยคิดวิธีชาร์จมือถือด้วยการยิงเลเซอร์ - Short Clip
World Trend - มนุษย์ยังคงพิเศษกว่า เพราะเอไอ 'ขำไม่เป็น' - Short Clip
World Trend - 'ทรัมป์' สั่งหน่วยงานรัฐเร่งวิจัยเอไอ - Short Clip
World Trend - 'ชุดเช่า' เทรนด์ธุรกิจแฟชั่นที่ยังไปได้อีกไกล - Short Clip
World Trend - ความเจริญของเอไอทำร้ายประเทศกำลังพัฒนา? - Short Clip
World Trend - ทำไมจีนยังต้องพึ่ง 'ซิลิคอนแวลลีย์' ? - Short Clip
World Trend - 'อ้ายฉีอี้' เปิดตัวแอปฯ ใหม่ เจาะตลาดผู้สูงวัย - Short Clip
World Trend - 'การกลั่นแกล้งในที่ทำงาน' ภัยร้ายที่กระทบงานและจิตใจ - Short Clip
World Trend - แอมะซอนล้มแผนสร้างสำนักงานในนิวยอร์ก - Short Clip
​World Trend - 'นั่ง ๆ นอน ๆ' ทำชาวอังกฤษเสียชีวิตหลายหมื่นราย - Short Clip
World Trend - สตาร์ตอัปอาเซียนหันมองจีนก่อนซิลิคอนแวลลีย์ - Short Clip
Nov 1, 2018 16:35

สตาร์ตอัปอาเซียนเริ่มศึกษาโมเดลธุรกิจจากประเทศใกล้เคียงอย่างจีน มากกว่าจะมองซิลลิคอนแวลลีย์ ที่มีลักษณะเทคโนโลยีและตลาดไม่เหมือนในอาเซียน

เมื่อกลางเดือนที่แล้ว ออนเนสบี (Honestbee) สตาร์ตอัปผู้ให้บริการส่งอาหารและสินค้า เพิ่งเปิดคอนเซปต์ซูเปอร์มาร์เก็ต ฮาบิแทต (Habitat) ขึ้นที่ประเทศที่ตั้งของสำนักงานใหญ่อย่าง สิงคโปร์ โดยมีพื้นที่กว้างขวางถึง 60,000 ตารางฟุต และมีสินค้าตั้งแต่ของสด ของแห้ง และอาหารพร้อมรับประทาน ซึ่งลูกค้าต้องนำสินค้าผ่านบริเวณเช็กต์เอาต์อัตโนมัติ แทนการจ่ายเงินที่แคชเชียร์ในซูเปอร์มาร์เก็ตปกติ ขณะเดียวกัน ก็มีสายพานสำหรับลำเลียงสินค้าที่ผู้บริโภคสั่งซื้อออนไลน์ผ่านแอปพลิเคชันด้วย

ร้านฮาบิแทตเป็นเพียงหนึ่งตัวอย่างของผู้ประกอบการหน้าใหม่ในตลาดค้าปลีกอาเซียน ที่ต้องการนำเสนอว่าซูเปอร์มาร์เก็ตในอนาคตจะมีหน้าตาเป็นอย่างไรได้บ้าง โดยให้ความสำคัญทั้งการบริการออนไลน์ และยังมีหน้าร้านให้ลูกค้าได้เข้ามาเลือกซื้อโดยตรง

ทั้งหมดนี้แทบไม่แตกต่างอะไรกับซูเปอร์มาร์เก็ตเหอหม่า ในประเทศจีน ที่บริหารงานโดย อาลีบาบา กรุ๊ป และกำลังเป็นเทรนด์สำหรับบริษัทค้าปลีกในปัจจุบัน ท่ามกลางการแข่งขันทางธุรกิจในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่ผู้ประกอบการเริ่มหันไปมองโมเดลธุรกิจที่เกี่ยวกับอินเทอร์เน็ตและเทคโนโลยีในจีน มากกว่าที่ซิลลิคอนแวลลีย์ ในสหรัฐฯ เนื่องจากมีอัตราการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตพอ ๆ กัน และมีสัดส่วนผู้บริโภคออนไลน์กลุ่มใหญ่

เมื่อเปรียบเทียบกันแล้ว ฮาบิแทตและเหอหม่าเหมือนกันในหลายจุดอย่างชัดเจน ทั้งการเปิดให้ชอปในร้านและผ่านแอปฯ ทั้งการจ่ายเงินแบบโมบายล์เพย์เมนต์ ทั้งการมีแผนกอาหารทะเลสดให้เลือกซื้อและแปรรูปเป็นวัตถุดิบพร้อมปรุงอาหาร เพื่อให้ลูกค้านำกลับไปทำเองที่บ้าน อย่างไรก็ตาม ออนเนสบียืนยันว่าบริษัทอาเซียนไม่สามารถนำโมเดลของจีนมาใช้ได้โดยไม่ประยุกต์ และผู้ประกอบการจำเป็นต้องปรับรูปแบบให้เข้ากับผู้บริโภคมากที่สุด

พอลลีน ฟาง รองประธานและกรรมการผู้จัดการของร้านฮาบิแทต กล่าวว่า พื้นที่ขายสินค้าแบบออฟไลน์จำเป็นต้องมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้คน มีการกระตุ้นสัมผัสทั้งห้า และเปิดการรับรู้ของผู้บริโภคให้มากที่สุด เช่นที่ฮาบิแทตเลือกจัดให้ซูเปอร์มาร์เก็ตและพื้นที่รับประทานอาหารอยู่ด้วยกัน เพื่อสร้างประสบการณ์การบริโภคอย่างเต็มที่ ในขณะที่ เหอหม่ายังแบ่งแยกแผนกทั้งสองนี้ออกจากกัน นอกจากนี้ ฮาบิแทตยังใช้การเช็กเอาต์แบบอัตโนมัติเท่านั้น ขณะที่ เหอหม่ายังมีแคชเชียร์ที่มีพนักงานไว้บริการอยู่ เท่ากับว่า โมเดลธุรกิจร้านค้าปลีกของชำของออนเนสบีที่เรียกว่า NewGen Retail ไม่ได้เหมือนกับ New Retail ของอาลีบาบาเสียทีเดียว

นี่เป็นตัวอย่างหนึ่งของการเปลี่ยนเทรนด์ Copy to China ที่เมื่อทศวรรษก่อน จีนเป็นฝ่ายนำโมเดลของบริษัทเทคโนโลยีในสหรัฐฯ มาใช้ เป็นเทรนด์ Copy from China ที่ในตอนนี้ จีนกลายเป็นผู้คิดค้นโมเดลธุรกิจ ทั้งสายเทคโนโลยี และการค้าปลีกที่ต่อยอดจากความสำเร็จด้านเทคโนโลยีด้วย

ชัว จู ฮก ตัวแทนด้านการลงทุนจากบริษัท เทมาเส็ก โฮลดิงส์ กล่าวว่า สตาร์ตอัปอาเซียนจำนวนมากกำลังศึกษาโมเดลของจีน เพราะโมเดลเหล่านี้ถูกพิสูจน์มาแล้วว่าใช้งานได้ โดยผู้ประกอบการจะมองจุดแข็งของจีน แล้วมาปรับให้เข้ากับลักษณะตลาดของตัวเองอีกครั้ง เช่นที่ฮาบิแทตทำ ตั้งแต่การเลือกที่ตั้งในย่านอุตสาหกรรม ซึ่งร้านค้าปลีกมักไม่ทำกัน เพื่อให้สามารถสร้างร้านได้ตามแผนที่คิดไว้ โดยไม่มีข้อจำกัดด้านพื้นที่ ในขณะที่เหอหม่าเน้นเปิดตามใจกลางเมือง ศูนย์การค้า และย่านชุมชน เพื่อให้ลูกค้าเข้าถึงง่าย และสามารถจัดส่งได้ในระยะ 3 กิโลเมตร ภายใน 30 นาที

อีกบริษัทสตาร์ตอัปอย่าง คารูเซลล์ แพลตฟอร์มขายสินค้ามือสองของสิงคโปร์ ก็เพิ่งเปิดตัว 'คารูเพย์' ระบบการจ่ายเงินภายในแอปฯ เพื่อให้ผู้ซื้อผู้ขายทำการค้าระหว่างกันได้สะดวกสบายยิ่งขึ้น ซึ่งไม่ต่างกับอาลีบาบาที่มี 'อาลีเพย์' ไว้ให้บริการ อย่างไรก็ตาม คารูเพย์ยังใช้ระบบ 'สไตรป์' ของสหรัฐฯ ในการทำธุรกรรม โดยสร้างเครือข่ายกับธนาคารในท้องถิ่น ให้สามารถทำงานกับระบบดังกล่าวได้ แทนที่จะให้ระบบดิจิทัลวอลเล็ต และให้เงินหมุนเวียนอยู่ในระบบนิเวศเดียวอย่างของอาลีบาบา

ทั้งนี้ เพราะแต่ละตลาดมีพฤติกรรมการจ่ายเงินที่แตกต่างกันไป เช่นในอินโดนีเซีย ที่ไม่สามารถใช้การจ่ายเงินด้วยบัตรเครดิตเพียงอย่างเดียว เพราะผู้บริโภคในประเทศไม่นิยมใช้ จึงต้องมีทางเลือกให้หลากหลายไว้ก่อน และต้องเปิดให้จ่ายเงินด้วยการโอนผ่านธนาคารด้วย

สำหรับแอปฯ ไรด์เฮลลิง หรือ บริการเรียกรถอย่าง แกร็บและโกเจ็ก ก็ศึกษาโมเดลธุรกิจของจีนอยู่เช่นกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับบริษัท ตีตี ชูสิง และ เหม่ยถวนเตี่ยนผิง เพื่อจะขยายกิจการให้ครอบคลุมมากกว่าการเรียกรถต่อไป โดยโกเจ็กเริ่มให้บริการส่งอาหาร ของชำ สินค้าอื่น ๆ และพัสดุแล้ว รวมไปถึงยังสามารถจองคิวสปา ซื้อตั๋วหนัง ผ่านแอปฯ โกเจ็กได้แล้วด้วย ขณะที่ แกร็บก็เริ่มส่งอาหาร และของชำแล้วเช่นกัน เพื่อให้บริการของตนเป็น 'แอปฯ ประจำวัน' หรือ everyday app สำหรับทุกคนอย่างแท้จริง


Voice TV
กองบรรณาธิการ วอยซ์ทีวี
185Article
76559Video
0Blog