ไม่พบผลการค้นหา
The Toppick - 'บริษัทพลังงานฟอสซิล' พาเหรดล้มละลาย - Short Clip
สิงห์ เอสเตท ลงทุน 1 แสนล้าน ภายใน 5 ปี
The Toppick - 'สงครามการค้าจีน-สหรัฐฯ' กระทบสายพานการผลิตไทย - Short Clip
The Toppick - 'เงินบาทแข็ง' กระทบการท่องเที่ยวไทย - Short Clip
The Toppick - นักวิทยาศาสตร์ หวังสร้างนำแข็งคืนสู่ 'อาร์กติก' - Short Clip
The Toppick - อินโดฯระบุพิกัดเมืองหลวงใหม่ กระจายความเจริญ-หนีเมืองจมน้ำ - Short Clip
The Toppick - ส่องนโยบาย 'อาเบะโนมิกส์' ขึ้นภาษีการขายทั่วญี่ปุ่น - Short Clip
The Toppick - พิษสงครามการค้า ดึงกำไรอุตสาหกรรมจีนตกต่ำ - Short Clip
ธนาคารโลก ชี้ รับจำนำข้าวดี แต่ต้องมีปัจจัยเสริมช่วยชาวนา
The Toppick - 'แอมะซอน' ปล่อย 'สินค้าเด็ก' วางขายก่อนตรวจสอบคุณภาพ - Short Clip
The Toppick - จีนตรึงอัตราแลกเปลี่ยน ลดกระแส 'สงครามค่าเงิน' - Short Clip
The Toppick - ​'ร้านกาแฟเป็ด' ได้รับความนิยมในเมืองเฉิงตู - Short Clip
มาเลเซีย-สิงคโปร์เตรียมสร้างรถไฟความเร็วสูง
The Toppick - สาหร่ายสีแดง ช่วยลดการปล่อยก๊าซมีเทนจากวัว - Short Clip
The Toppick - 'ทวิภาคีชิงอำนาจ' ปัจจัยบ่อนทำลาย 'เศรษฐกิจโลก'- Short Clip
The Toppick - ลาวเดินหน้าสร้างเขื่อนแห่งใหม่กั้นแม่น้ำโขง - Short Clip
เซ็นทาราตั้งเป้าขยายโรงแรม 130 แห่งภายใน 5 ปี
The Toppick - Thomas Cook บริษัททัวร์เก่าแก่ที่สุดของอังกฤษปิดกิจการ - Short Clip
The Toppick - 'ปรมาจารย์ลัทธิมาร' จากนิยายวายสู่ซีรีส์จีน ฮอตฮิตทั้งไทยและจีน- Short Clip
Biz Feed - เงินสะพัดธุรกิจสัตว์เลี้ยงเกือบ 3 หมื่นล้านบาท - Short Clip
The Toppick - หนี้เสียของจีน เพิ่มขึ้น 10% ภายในเวลา 6 เดือน - Short Clip
Sep 5, 2019 01:00

หนี้เสียของจีนพุ่งขึ้นสูงท่ามกลางเศรษฐกิจชะลอตัว แบงก์ขนาดเล็กรับศึกหนัก

หนี้เสีย (NPL) หรือการผิดนัดชำระหนี้เกิน 90 วันของประเทศจีน เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 10 ในช่วงครึ่งแรกของปี 2562 ขึ้นไปแตะมูลค่า 2.24 ล้านล้านหยวน หรือประมาณ 9.57 ล้านล้านบาท โดยบริษัทขนาดเล็กและขนาดกลางตกกลายเป็นกลุ่มผิดนัดชำระหนี้เป็นส่วนใหญ่

ราวร้อยละ 5 ของหนี้ในจีนทั้งหมดตกอยู่ในภาวะเสี่ยงไม่ได้รับการจ่ายคืน ซึ่งคิดเป็นมูลค่าถึง 3.63 ล้านล้านหยวน หรือประมาณ 15.5 ล้านล้านบาท ส่งผลให้ธนาคารขนาดเล็กที่ไม่ได้มีเงินสำรองสูงแบบธนาคารของรัฐตกที่นั่งลำบากจากหนี้ที่ไม่ได้รับการชำระคืน

ขณะเดียวกัน ข้อมูลจากสถาบันพัฒนาการเงินแห่งชาติ และ สถาบันวิทยาศาสตร์สังคมด้านเศรษฐกิจแห่งประเทศจีน ก็ออกมาเปิดว่าสัดส่วนหนี้ต่อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ (จีดีพี) ขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ 249.5 ในปลายไตรมาส 2/2562 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.7 จากไตรมาส 1/2562 ที่อยู่ที่ร้อยละ 248.8

จากข้อมูลของเอินส์ทแอนด์ยัง บริษัทตรวจสอบบัญชีระดับโลก ชี้ว่า รัฐบาลจีนพยายามกำจัดหนี้เสียเหล่านี้ ด้วยการซื้อขายธนาคารที่เสี่ยงมีหนี้เสียมูลค่ากว่า 7 แสนล้านหยวน หรือประมาณ 3 ล้านล้านบาท ในปีที่ผ่านมา ขณะที่นักวิเคราะห์บางส่วนมองว่าตัวเลขหนี้เสียของทุกธนาคารอาจสูงถึง 1 ล้านล้านหยวน หรือประมาณ 4.27 ล้านล้านบาท

ความพยายามดังกล่าวไม่ได้มีผลกระทบกับสถาบันขนาดใหญ่เท่าไหร่นัก ธนาคารพาณิชย์อุตสาหกรรมแห่งประเทศจีนและธนาคารเพื่อการเกษตรแห่งประเทศจีนล้วนมีช่องหว่างระหว่างยอดเงินกู้และยอดเงินฝากถึง 200 จุดพื้นฐาน หรือร้อยละ 200 สะท้อนให้เห็นว่าการกำจัดหนี้เสียของรัฐบาลไม่ได้กระทบกับกำไรของสถาบันการเงินขนาดใหญ่เท่าไหร่นัก

นอกจากนี้ ผลการประกาศกำไรสุทธิของธนาคารขึ้นทะเบียนทั้ง 32 แห่ง ในช่วงเดือนมกราคมถึงมิถุนายนที่ผ่านมา ยังเพิ่มขึ้น ขณะที่ธนาคารใหญ่ 4 แห่งของจีนมีกำไรสูงขึ้นมากกว่าร้อยละ 4 และ ขณะที่ภาพรวมการเติบโตอยู่ที่ตัวเลลขมากกว่าร้อยละ 7

ขณะที่ธนาคารขนาดใหญ่มีตัวเลขหนี้เสียเพิ่มขึ้นเพียง 2 หมื่นล้านหยวน หรือประมาณ 8.5 หมื่นล้านบาท ในช่วงครึ่งแรกของปี 2562 ธนาคารพาณิชย์ขนาดเล็กและขนาดกลางในแต่ละเมืองกลับต้องเผชิญกับหนี้เสียถึง 1 แสนล้านหยวน หรือประมาณ 4.27 แสนล้านบาท ส่วนธนาคารพาณิชย์เพื่อการเกษตรต้องแบกรับหนี้เสียราว 5 หมื่นล้านหยวน หรือประมาณ 2 แสนล้านบาท

โดยสถาบันการเงินที่ต้องเผชิญหน้ากับวิกฤตหนี้เสียเหล่านี้ คือสถาบันการเงินที่ไม่ได้อยู่ในเมืองใหญ่ของจีน ซึ่งเป็นพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจที่ชะลอตัว




Voice TV
กองบรรณาธิการ วอยซ์ทีวี
185Article
76559Video
0Blog