ไม่พบผลการค้นหา
'ชวน' ปาฐกถาวันรัฐธรรมนูญ ยกพระราชหัตถ์ ร.7 สละราชสมบัติ คืนอำนาจให้ประชาชน แต่ไม่ได้ยอมให้ผู้ใดคณะใด ชี้ 88 ปี มีปัญหาจากผู้ใช้ ไม่ได้เกิดจากรัฐธรรมนูญ บอกประชาธิปไตยกับปัญหาบ้านเมืองเป็นของคู่กันไม่มีวันสมบูรณ์ ชี้รัฐธรรมนูญ 60 ถูกออกแบบให้รัฐบาลอยู่ 2 สมัย เหตุ ส.ว.มีวาระ 5 ปี

ชวน หลีกภัย ประธานรัฐสภา กล่าวปาฐกถา เนื่องในโอกาสวันรัฐธรรมนูญ และครบรอบการสถาปนามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 86 ปี ที่จัดโดยสมาคมธรรมศาสตร์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ร่วมกับชมรมเพื่อนโดม เรื่อง ประชาธิปไตยไทยบนเส้นทางการเปลี่ยนแปลง

6.jpg

ชวน กล่าวว่า ร่างรัฐธรรมนูญปี 2560 ตนได้รับเชิญไปให้ความเห็น ซึ่งได้บอกกับกรรมการร่างรัฐธรรมนูญว่า ปัญหาที่ทำให้เกิดการยึดอำนาจ มาจากพฤติกรรมคนที่ใช้รัฐธรรมนูญ ไม่เคารพรัฐธรรมนูญ ไม่ได้เกิดปัญหาจากรัฐธรรมนูญ โดยประเทศไทยมีรัฐธรรมนูญฉบับแรกจากการ ในวันที่ 10 ธ.ค. 2475 ซึ่งต้องบอกว่าในสมัยนั้นบทบัญญัติของกฎหมายเป็นเรื่องที่น่าตื่นเต้น เพราะเป็นการเปลี่ยนแปลง ซึ่งในหลวงของเรา ไม่ได้ใช้อำนาจเผด็จการรังควานผู้อื่น ยกตัวอย่าง ลายพระราชหัตถ์เลขา ในหลวง ร.7 เขียนขณะที่ทรงสละราชสมบัติ ปี 2477 ทรงเขียนว่า แม้พระองค์ ท่านจะอยู่มาตั้งแต่สมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ก็ไม่เคยใช้อำนาจอย่างนี้อย่างที่คณะราษฎรใช้ พระองค์จึงตัดสินใจสละราชสมบัติในขณะนั้น จึงทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครองหลังมีการใช้รัฐธรรมนูญฉบับแรกผ่านมา 2 ปี 

และเมื่อวันเวลาเปลี่ยน แต่เราไม่พร้อมมาแต่ต้น ก็ไม่มีวันที่ประชาธิปไตยจะสมบูรณ์ อีกทั้งประชาธิปไตยกับปัญหาบ้านเมืองเป็นของคู่กัน เพียงแต่ระบอบเผด็จการมีการปกปิดข้อมูล

5.jpg

ชวน กล่าวว่า จากประสบการณ์ที่ผ่านมาที่ใช้รัฐธรรมนูญมากที่สุด พบว่าปัญหาไม่ได้เกิดขึ้นจากรัฐธรรมนูญ แต่เกิดจากคนใช้ อีกทั้งรัฐธรรมนูญแต่ละฉบับมีจุดอ่อนจุดแข็ง ซึ่งจะมีความเปลี่ยนแปลงมาก เมื่อถูกยึดอำนาจ รัฐธรรมนูญจะถูกออกแบบให้ผู้ยึดอำนาจอยู่ในอำนาจต่ออีกหนึ่งสมัย ขณะที่รัฐธรรมนูญปี 2560 ให้อำนาจ 2 สมัย เพราะมีการแต่งตั้ง ส.ว.ให้มีวาระ 5 ปี ส่วน ส.ส.มีวาระ 4 ปี เท่ากับว่ามีสิทธิ์เลือกนายกรัฐมนตรี 2 สมัย และยังให้ผู้บัญชาการเหล่าทัพเป็น ส.ว.โดยตำแหน่งด้วย จึงเป็นที่มาให้ตนเองและพรรคประชาธิปัตย์ประกาศไม่รับรัฐธรรมนูญฉบับนี้ เพราะถือเป็นรัฐธรรมนูญฉบับถอยหลัง แต่ก็เข้าใจสถานการณ์ หลังได้พูดคุยกับกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นอาจารย์จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ว่าถ้าไม่เขียนรัฐธรรมนูญแบบนี้จะเป็นอย่างไร

ข่าวที่เกี่ยวข้อง :