ไม่พบผลการค้นหา
ประชาชนเสนอนายกฯ ทำประชาพิจารณ์ “แผนบริหารน้ำ”
นักกฎหมายล่ารายชื่อถอด "ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ"
ค้าน-รัฐบาล 'ร่วมดับไฟใต้' หรือได้แต่ฟัง ?
ทีดีอาร์ไอ วิเคราะห์เศรษฐกิจไทย ปี 55 ปัจจัยลบมากกว่าบวก
ขบวนการแรงงานจี้รัฐ ควบคุมราคาสินค้า-ปล่อยนักโทษการเมือง
กลุ่มปฏิญญาหน้าศาล จี้รัฐออกกฎหมายนิรโทษกรรม “นักโทษการเมือง”
สงกรานต์...เทศกาล “คร่าชีวิต”
สถาบันพระปกเกล้ารับข้อเสนอ “อภิสิทธิ์” แต่ไม่เปลี่ยนแปลงแนวทางปรองดอง
ข้อตกลงลับ เบื้องหลัง "รดน้ำป๋า"
"10 อรหันต์" เตรียมตรวจการบ้าน สสร.
พรรคเล็กขอโอกาสช่วยคนพิการและเน้นความสุขของประชาชน
หยุดกล่าวหาปชป. กรณีแขวน "นาซา-อู่ตะเภา"
ฝ่ายค้านพุ่งเป้าตัวนายกฯ ยื่นอภิปรายไม่ไว้วางใจ
ยุบ-ไม่ยุบ พรรคเพื่อไทย กกต.รอกระบวนการศาล
ฟ้องกลับ “มาร์ค” การเมืองระอุหลังน้ำลด
วีระกานต์ อัด กลุ่มค้านร่างกฎหมายปรองดอง พวกค้าสงคราม
แก้ ม.112 ทำลายกระบวนการสร้างความปรองดองแห่งชาติ?
“ปรองดอง” เพื่อดับไฟใต้
นโยบายแก้ปัญหาชาวนาของพรรคเครือข่ายชาวนาฯ
ยุทธศาสตร์ปฏิวัติประเทศ “พรรคความหวังใหม่”
ผลประโยชน์ทางการเมือง เพิ่ม "เชื่อไฟใต้" ยืดเยื้อ
Apr 27, 2012 15:51

รายการ Hot Topic ประจำวันที่ 27 เม.ย. 55

 

วันนี้ (27 เมษายน 2555) รายการ Hot Topic ร่วมพูดคุยกับนายนัจมุดดีน อูมา อดีต ส.ส.นราธิวาส พรรคมาตุภูมิ ถึงสาเหตุความรุนแรงที่ยังเพิ่มขึ้นในจังหวัดชายแดนใต้แม้เวลาจะผ่านย่างเข้าสู่ปีที่ 9 ก็ตาม

 

นายนัจมุดดิน กล่าวว่า ย้อนไปเมื่อปี 47 ถึงวันนี้ ก้าวเข้าสู่ 9 ปี เหตุการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนใต้ ดูเหมือนความรุนแรงและก็เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งสาเหตุหลักๆ คือ รัฐไม่สามารถครองใจประชาชนส่วนใหญ่ได้ ต่างฝ่ายต่างพยายามที่จะเดินหน้าต่อเพื่อเอาชนะ โดยไม่คำนึงถึงข้อเท็จจริง  

 

ส่วนกระบวนการยาเสพติดจะถูกนำไปใช้ในขบวนการแบ่งแยกดินแดนหรือไม่นั้น นายนัจมุดดิน กล่าวอีกว่า ยังไม่มีหลักฐานที่ชัดเจน แต่เชื่อว่าทางทหารหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐก็มีข้อมูลและหลักฐาน แต่ยังไม่สามารถที่จะเปิดเผยได้ แต่กรณีของประชาชนยืนยันว่าไม่มีการระดมทุนช่วยอย่างแน่นอน เพียงแค่ระดมทุนช่วยบุคคุลซึ่งไม่ได้รับความเป็นธรรมจากเหตุความไม่สงบเท่านั้น

 

ทั้งนี้นายนัจมุดดีน  แสดงความคิดเห็นว่าวิธีที่จะดับไฟใต้ได้นั้น  พรรคใหญ่ทั้ง 2 พรรค จะต้องมีการปล่อยว่าง ไม่เอาผลประโยชน์ทางการเมืองเป็นหลัก จะต้องเชิญทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องมาพูดคุยกันไม่ใช่การเจรจา เพื่อสร้างสภาวะแวดล้อมที่เหมาะสมและเอื้อต่อการพูดคุย ในการแสวงหาทางออกความขัดแย้งและการให้หลักประกันในการเข้ามามีส่วนร่วมของผู้เกี่ยวข้องและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในกระบวนการเสริมสร้างสันติภาพ

 

Produced by VoiceTV 

Voice TV
กองบรรณาธิการ วอยซ์ทีวี
187Article
76559Video
0Blog